มะเร็งเกิดขึ้นเมื่อการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติ ทำให้เซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็วและสร้างเนื้อเยื่อที่เรียกว่าเนื้องอก มีสองประเภทหลักของเนื้องอก ได้แก่ เนื้องอกดี (benign tumors) และเนื้องอกร้าย (malignant tumors) เนื้องอกดีไม่ใช่มะเร็งและโดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่เนื้องอกร้ายมีคุณสมบัติที่สามารถแพร่กระจายและทำลายเนื้อเยื่อรอบข้างได้ ทั้งนี้เนื้องอกดี กับเนื้องอกร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุด อย่างถ้าเนื้อร้ายเกิดขึ้นที่เต้านม มะเร็งเต้านม เกิดขึ้นที่ปอด มะเร็งปอด เกิดขึ้นที่ ลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น เราจะเรียกมะเร็งตามจุดต่างๆ ตามร่างกายที่มีเนื้อร้ายเกิดขึ้น ซึ่งโรคมะเร็งจะมีหลายระยะหากเป็นในระยะแรกๆ ก็มีโอกาสในการรักษาหายขาดสูง แต่ถ้าเป็นระยะท้ายแล้วโอกาสในการรักษาให้หายนั้นน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็จที่ดีที่สุดคือการไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอ ซึ่งมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะมาก ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ผู้หญิงผู้หญิงควรได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์อย่างน้อยทุก 1 ถึง 3 ปีเมื่ออายุระหว่าง 20 ถึง 39 ปี และทุกปีเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป โดยการตรวจมะเร็งเต้านมนั้นสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
วิธีในการตรวจหามะเร็งเต้านม
1.การตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง
ผู้หญิงควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรู้จักลักษณะปกติของเต้านมของตนเองและสังเกตหาความผิดปกติ เช่น การพบก้อนในเต้านม การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหรือหัวนม และการมีของเหลวไหลออกจากหัวนม
2.การตรวจหามะเร็งเต้านมโดยแพทย์
การตรวจโดยแพทย์หรือพยาบาลมืออาชีพ ซึ่งจะตรวจหาก้อนหรือความผิดปกติในเต้านมและบริเวณใต้วงแขน
3.มามโมแกรม (Mammogram)
การถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ของเต้านม เพื่อตรวจหาก้อนหรือความผิดปกติที่อาจไม่รู้สึกได้ด้วยการตรวจด้วยมือ แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปทำมามโมแกรมทุก 1-2 ปี
4.อัลตราซาวนด์ของเต้านม (Breast Ultrasound)
ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการสร้างภาพของเนื้อเยื่อภายในเต้านม มักใช้ร่วมกับมามโมแกรมเพื่อตรวจสอบก้อนที่พบหรือเพื่อดูรายละเอียดของก้อนเนื้อ
5.การตรวจด้วย MRI (Magnetic Resonance Imaging) ของเต้านม
ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพรายละเอียดของเนื้อเยื่อเต้านม มักใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงของมะเร็งเต้านม
6.การตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy)
หากพบก้อนหรือความผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัย โดยการนำเซลล์หรือเนื้อเยื่อออกมาตรวจสอบใต้กล้องจุลทรรศน์
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธี และการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภท ขนาด และระยะของมะเร็ง เช่นเดียวกับสุขภาพโดยรวมและความชอบส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การผ่าตัด
การผ่าตัด: มีสองประเภทหลัก ได้แก่
- การผ่าตัด Lumpectomy หรือการผ่าตัดช่วยรักษาเต้านม ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งและบริเวณเนื้อเยื่อบางส่วนรอบๆ ก้อนนั้นออกไป
- การผ่าตัด Mastectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเต้านมทั้งหมดออก
รังสีบำบัด
ใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจเหลืออยู่หลังจากการผ่าตัด หรือใช้เป็นการรักษาหลักในบางกรณี
เคมีบำบัด
ใช้ยาเคมีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง อาจใช้ก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง หรือหลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจเหลืออยู่
การใช้ฮอร์โมน
การรักษาด้วยฮอร์โมน สำหรับมะเร็งเต้านมที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน เช่น มะเร็งที่มีตัวรับฮอร์โมน estrogen หรือ progesterone การรักษาด้วยฮอร์โมนช่วยป้องกันฮอร์โมนเหล่านี้จากการกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาเป้าหมาย ใช้ยาที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีเป้าหมายทางโมเลกุลเฉพาะในเซลล์มะเร็ง ยกตัวอย่างเช่น Herceptin (trastuzumab) ซึ่งใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมที่มีการแสดงออกของ HER2 สูง
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ใช้ยาที่ช่วยเพิ่มหรือซ่อมแซมความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
- อายุ: การแบ่งเซลล์ของท่อน้ำนมของผู้สูงวัยมักเกิดความผิดปกติได้มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยๆ โอกาสเป็นมะเร็งเต้านมจึงมากกว่า
- การมี-ไม่มีบุตร: การสร้างน้ำนมของผู้หญิงที่มีบุตรจะทำให้เซลล์เต้านมเจริญเติบโตได้สูงสุด โอกาสการแบ่งตัวผิดปกติจึงมีน้อย ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมจึงน้อยกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร
- ยาคุมกำเนิด: การรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกิน 5 ปี เป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม เพราะการที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนตามธรรมชาติผิดปกติ และมีฮอร์โมนดังกล่าวในอัตราที่สูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้มีความเสี่ยงเนื้อเยื่อเต้านมผิดปกติเพิ่มสูงขึ้นได้
ดังนั้นเมื่อถึงวัยอันควรเข้ารับตรวจร่างกาย เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งเต้านม และที่อื่นๆ ในร่างกาย ควรไปตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนอายุน้อย เพราะหากพบเชื้อร้ายในระยะแรกๆ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที รู้เร็ว ก็รักษาหายเร็ว รู้ช้า โอกาสในการรักษาให้หายนั้นมีน้อยมากๆ แต่ถ้าเป็นในระยะสุดท้ายแล้วก็ยากที่จะทำการรักษาให้หายได้ ได้แต่ประวิงเวลาไปวันๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นอย่าลืมไปตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ และสม่ำเสมอกันด้วยนะคะ